ประวัติ Mixer Midas

ประวัติมิกเซอร์ดิจิตอล Midas (อย่างละเอียด)

ประวัติ Mixer Midas

ประวัติมิกเซอร์ดิจิตอล Midas

ประวัติมิกเซอร์ดิจิตอล Midas ในยุคศตวรรคที่ 60 ถือว่าเป็นยุครุ่งเรื่องทางอุตสาหกรรมทางดนตรีของเกาะอังกฤษ มีวงดังอย่าง เดอะบีทเทิล หรือ 4 เต่าทองที่เราเรียกกัน ได้พลิกอุตสาหกรรมทางดนตรีของยุโรปหรือของโลกเลยก็ว่าได้ และด้วยอิทธิพลทางดนตรีที่แผ่ขยายไปอย่างวงกว้าง ทำให้ชื่อเสียงของเกาะอังกฤษโด่งดังไปทั่วโลก และในขณะที่อุตสาหกรรมทางดนตรีกำลังเฟื่องฟูนั้น มีอุตสาหกรรมอีกด้านที่กำลังพัฒนาไม่แพ้กัน นั่นก็คืออุตสาหกรรมทางด้านระบบเสียง

ประวัติมิกเซอร์ดิจิตอล Midas

ต่อมาในปี 1970 ได้มีบริษัทชื่อว่า Midas ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในลอนดอน เมืองหลวงของประเทศอังกฤษโดยมีผู้ก่อตั้งคือ Jeff Byers และ Charles Brooke ซึ่งผลิต วงจรทราสซิสเตอร์สำหรับแอมป์กีต้าร์และตู้ลำโพง ซึ่งในยุคแรกถือว่าเป็นความโชคดีที่บริษัท Midas ได้ตั้งบริษัทอยู่ใกล้กับ Martin ซึ่งเป็นผู้ผลิตลำโพงที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น ทำให้ลูกค้าที่มาเลือกซื้อสินค้าได้เยี่ยมชมอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ทาง Midas ผลิตขึ้นด้วย ซึ่งในปี 1970 นั้นทาง Martin ได้ผลิตตู้ลำโพงและทาง Midas เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิค ถือว่าเป็นการจำคู่ได้อย่างลงตัวในด้านระบบเสียงคอนเสิร์ตในยุคสมัยนั้น

เมื่อการดำเนินธุระกิจของบริษัทขยายตัวขึ้นในเวลา 3 ปีต่อมา Jeff  ก็เริ่มคิดที่จะปรับปรุงอุปกรณ์ที่ใช้งานสำหรับคอนเสิร์ตแบบดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่ จึงได้คิดค้นและพัฒนาเครื่องผสมสัญญาณเสียง จึงได้ก่อเกิด Midas Mixing Console ขึ้นที่ตึกเล็กๆของ Jeff  ในถนนสแตนโฮป ใกล้กลับสถานีรถไฟยูสตัน ลอนดอน และในปี 1980 ทาง Midas ได้ผลิต Mixing Console ที่ได้ชื่อรุ่นว่า Pro40 ซึ่งเป็น Mixer ขนาดใหญ่รองรับงานทัวร์คอนเสิร์ตซึ่งถือได้ว่าเป็น Mixing Console ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ต่อมาทาง Midas ได้คิดค้นพัฒนาผลิต Mixing Console รุ่น XL Series ขึ้นแต่ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนานั้นค่อนข้างสูงทำให้ประสบปัญหาสภาพคล่อง จึงทำให้เดือนธันวาคมในปี 1987 ทาง Klark Teknik ได้ควบรวมกิจการของ Midas เข้าด้วยกันทำให้ Midas ได้ย้ายโรงงานผลิตไปที่ Kidderminster ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและได้ผลิต Pro40 ที่มี 24Aux สำหรับเป็น Monitor Mixer ได้สำเร็จที่โรงงานของ Klark Teknik

ในปี 1990

Midas ได้ผลิต Mixer รุ่น XL3 ออกมาสู่ท้องตลาดและได้มีการใช้ VCA ในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าของเฟดเดอร์ที่มารวมอยู่ใน VCA นั้นๆทำให้การทำงานในด้านการผสมเสียงนั้นทำได้ง่ายขึ้นซึ่งมีตั้งแต่ 24, 32, 40 ช่องสัญญาณ

I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

มาถึงในปี 1995

ซึ่งถือได้ว่าถึงยุคที่รุ่งเรื่องที่สุดของยุค Analog Mixing Console เมื่อได้ Midas ได้ผลิต Mixing Console ชื่อรุ่นว่า XL4 ถือได้ว่าเป็นที่สุดของ Mixing Console ที่หาตัวเทียบได้ยาก การออกแบบ Preamplifier ที่ให้น้ำเสียงที่ดีและ EQ จากรุ่น XL3 ถือว่าเป็นอะไรที่ลงตัวที่สุด วงดังๆในยุคนั้นต่างใช้ Midas XL4 ในการทัวร์คอนเสิร์ต อันได้แก่วง AC/DC, Aerosmith, Bon Jovi, Metallica, The Rolling Stones และอีกหลายวง และเป็นครั้งแรกที่เฟดเดอร์มีมอเตอร์ควบคุมการทำงาน ทำให้ Midas XL4 อยู่ในชื่ออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทัวร์คอนเสิร์ตอันดับ 1 ของโลกและถัดจากนั้นในปี1996  DDA ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับ Midas และ Klark Teknik และในปี 1998 ทาง Midas ได้คิดค้นพัฒนาต่อยอดจากรุ่น XL3 และ XL4 เป็นรุ่น Heritage ได้แก่ H3000, H2000 ซึ่งก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอีกเช่นเดียวกัน ทำให้ทาง Midas ซึ่งถือได้ว่าเป็น Mixing Console ที่ครอบครองงานทัวร์คอนเสิร์ตแทบจะเกือบทั้งหมดของโลกเลยก็ว่าได้ ยุคของ Analog Mixing Consoles ยังถือว่ารุ่งเรืองทาง Midas ได้ผลิต Analog Mixing Console รุ่นเล็กลงมาอีกอันได้แก่ LEGEND, VERONA, SIENA และ VENICE และเมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรคที่20 ที่ระบบ Digital เริ่มมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้นในการทำงาน ปี 2003 ทางทีมวิศวะกรของ Midas ได้เริ่มกันสร้าง Digital Mixing Console ขึ้นโดยเริ่มคิดโครงสร้างและ DSP ที่จะประมวลผลการทำงานขึ้นในโรงงานที่ Kidderminster ประเทศอังกฤษ โดยยึดการทำงานแบบ Analog เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการทำงาน หน้าตาของ Mixing Console เน้นไปที่การใช้งานให้ง่ายแบบ Analog

XL8

หลังจากคิดค้นพัฒนาใช้เวลากว่า 3 ปี ทาง Midas ได้เปิดตัว Digital Mixing Console ที่งาน Pro Light + Sound ที่เมืองแฟร้งค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมันนี ในเดือนมีนาคม ปี2006 ชื่อรุ่นว่า XL8 โดยมีสโลแกนที่ว่า Digital Goes Midas ซึ่งสามารถรองรับจำนวนช่องสัญญาณได้ถึง 96ช่องสัญญาณ และในระบบเน็ตเวิร์คสามารถรองรับ จำนวนช่องสัญญาณได้มากถึง 384 ช่องสัญญาณที่ความละเอียด 24Bit/96kHz โดยมีเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลที่ชื่อว่า AES50 โดยมีค่าความหน่วงของสัญญาณ (Latency) เพียง 70μS. และทั้งหมดในระบบเพียง 2mS โดยมีการเฉลี่ยค่าความหน่วงเมื่อมีการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่เป็นระบบ Analog จากด้านนอก ซึ่งถือได้ว่าน้อยมาก แทบจะไม่มีความรู้สึกถึงการหน่วงของเสียงเลยก็ว่าได้ จำนวนหน้าจอการทำงานที่มากถึง 5จอ และสามารถต่อคอมพิวเตอร์จากข้างหน้ามาออกหน้าจอที่ตัว Mixing Console ได้ ทำให้สะดวกในการทำงานเป็นอย่างมากและสามารถใช้เม้าท์และคีย์บอร์ดของตัว Mixing Console เองไปสั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ เทคโนโลยีนี้ทาง Midas เรียกว่า KVM

เพราะการทำงานในยุคปัจจุบันนั้น ได้มีคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น ทาง Midas เองได้เลงเห็นถึงความสะดวกในการทำงาน ไม่จำเป็นต้องละสายตาไปมองหน้าจออื่น จึงได้มีเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไป 2ปี หลังจากที่ได้ปล่อย Digital Mixing Console รุ่น XL8 ออกมา ทาง Midas ได้เอาเทคโยโลยีของ XL8 มาต่อยอดโดยได้กลายมาเป็น Digital Mixing Console รุ่น Pro Series รุ่นแรกที่ออกมาได้แก่รุ่น Pro6 ซึ่งได้เปิดตัวที่งาน PLASA ประเทศอังกฤษ ในเดือนกันยายน ปี 2008 และเหตุผลที่ทาง Midas ได้ใช้รุ่นว่า Pro Series เพราะว่าอยากให้กลับไปคิดถึงรุ่น Pro4 และ Pro40 ที่สร้างชื่อให้กับ Midas ก่อนหน้านี้นั่นเอง ในรุ่น Pro6 นั้น ได้เอาเทคโนโลยีทุกอย่างที่มีใน XL8 โดยย่อขนาดของตัว Control Surface ลงให้มีหน้าจอ 2 จอ จำนวนช่องสัญญาณ 56 ช่องสัญญาณพร้อมระบบประมวลผลที่ทรงพลัง และยังคงใช้การส่งถ่ายข้อมูลแบบ AES50 โดยใช้สาย Cat5e และสาย Fiber Optic ชนิด Multi Mode ส่งได้ไกลถึง 500เมตร เมื่อ มิกเซอร์ Midas รุ่น Pro6 ออกมา ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น วง AC/DC ก็ใช้ Pro6 ควบคู่กับ Analog รุ่น Pro40 ในการทัวร์คอนเสิร์ตทั่วโลก หลังจากนั้นทาง Midas ก็ได้ผลิตรุ่น Pro3 ซึ่งมีขนาดช่องสัญญาณลดลงมาเหลือ 48 ช่องสัญญาณพร้อมตัว Stage Box ตัวใหม่รุ่น DL251 ที่มี 48Ins/16Outs หลังจากที่ก่อนหน้านั้น XL8 ใช้ Stage Box ที่เป็นทั้ง Analog Splitter และ Digital Splitter ในตัวในรุ่น DL431 และ Pro6 ใช้รุ่น DL351 ซึ่งสามารถเลือกใส่การ์ด Input และ Output ได้ตามความต้องการ เมื่อออกรุ่น Pro3ออกมาแล้ว ทาง Midas ได้ เพิ่ม Digital Mixing Console มาเพิ่มอีก 1 ตัวคือรุ่น Pro9 ซึ่งเพิ่มจำนวนช่องสัญญาณให้มากถึง 80 ช่องสัญญาณทั้งยังสามารถนำ Pro3 และ Pro6 มาอัพเกรดซอฟแวร์เพื่อให้มีช่องสัญญาณเทียบเท่า Pro9 ได้

และในเดือนธันวาคมในปี 2009 ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งของ Midas และ Klark Teknik เมื่อทาง Music Group ได้เข้าซื้อกิจการของ Midas และ klark Teknik จากบริษัท Robert Bosch เพื่อนำมาเติมเต็มและพัฒนาเทคโนโลยีให้มีขีดความสามารถมากที่สุด โดยได้ลงทุนถึง 20ล้านดอลล่าสหรัฐเพื่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ในประเทศจีน ให้มีกำลังการผลิตที่มากขึ้นรองรับการเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรมระบบเสียงในอนาคต โดยโรงงานแห่งนี้ได้มีพนักงานกว่า 3,000 คน การออกแบบและพัฒนายังคงมีฐานที่ประเทศอังกฤษแต่ชิ้นส่วนประกอบได้ถูกผลิตขึ้นยังโรงงานใหม่แห่งนี้ การคัดกรองชิ้นส่วนที่มีการตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างดี ซึ่งโรงงานแห่งนี้ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ราคาของสินค้าจึงราคาถูกลงตามไปด้วย นั่นจึงเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าได้ถูกลงแต่คุณภาพยังเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

หลังจากที่ได้ผลิตมิกเซอร์รุ่นใหญ่ระดับ Professional ออกสู่ท้องตลาดมาอย่างต่อเนื่อง ทาง Midas ได้เอาใจกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมิกเซอร์ในราคาประหยัด แต่ให้คุณภาพที่ดีไม่แพ้รุ่นพี่ที่ปล่อยออกมา จึงได้ทำการผลิตรุ่น M32, M32R และ M32 Core ออกสู่ท้องตลาด โดยใช้เทคโนโลยีการส่งถ่ายข้อมูลเดียวกันแบบ AES50 เหมือนกับรุ่น Pro Series ด้วยชื่อของ Midas ที่ผลิตแต่ Mixing Consoles ที่มีคุณภาพจึงไม่แปลกใจเลยที่รุ่น M32 จะทำยอดขายแบบถล่มทลายทั่วโลก ทั้งในประเทศไทยเองมียอดจองก่อนสินค้าจะผลิตมากกว่า 100 เครื่อง นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานมั่นใจในคุณภาพของ Midas ที่เป็นแบรด์นที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และปัจจุบันคือรุ่น M32 Live

กว่า 40 ปีที่ทาง Midas ได้ผลิต Mixing Console ออกสู่ท้องตลาดให้ผู้ใช้งานได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพกับโชว์ที่เน้นคุณภาพ พร้อมทั้งรางวัลต่างๆมากมายที่ได้รับตลอดกว่า 40ปีที่อยู่ในอุตสาหกรรมระบบเสียงของโลก และแน่นอนว่า Midas จะยังคงพัฒนาอุปกรณ์ระดับมืออาชีพออกสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่องภายใต้กลุ่ม Music Tribe ที่มีทีมวิศวะกรที่พร้อมจะพัฒนาขีดความสามารถของอุปกรณ์เพื่อรองรับความสมบูรณ์ที่ซับซ้อนของงาน Production ให้มีความยิ่งใหญ่สมกับความไว้วางใจจาก Sound Engineer ทั่วโลกต่อไป

ดูสินค้า Midas ทุกรุ่นที่นี่

บทความโดย Live For Sound

Login

X